นิทรรศการและการแข่งขันทางศิลปะออนไลน์ระดับนานาชาติ

Art Exchange: “Imagine” Artistic Dialects: Thinking into Doing.

ข้อกำหนดการส่งผลงาน

ประเภทคณาจารย์ นักปฏิบัติการ และศิลปิน
ประเภทผลงาน:

จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม สื่อผสม ภาพถ่าย เซรามิก ออกแบบตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบกราฟิก/เรขศิลป์ ออกแบบสื่อสาร ภาพยนตร์/วิดิทัศน์ แอนนิเมชั่นโมชั่นกราฟฟิก/เรขศิลป์เคลื่อนไหว ศิลปะดิจิทัล มัลติมีเดีย หรืออื่นๆ

การอัพโหลดผลงานจริง

1. เตรียมผลงานตามรูปแบบที่กำหนด
2. เลือกประเภทผลงานจาก2ตัวเลือก ดังนี้

 2.1) ผลงาน 2 มิติ
  ไฟล์ .JPEG ขนาด 841.89x1190.55 pixels (ขนาด A3) ที่ความละเอียด 150 DPI รูปแบบRGB และขนาดไฟล์ไม่เกิน 5 MB

 2.2) ผลงานภาพเคลื่อนไหว
  ไฟล์ MP4 ความยาวไม่เกิน1 นาที (teaser/trailer cut) ขนาดไฟล์ไม่เกิน 100 MB

รูปแบบการส่งบทคัดย่อผลงานสร้างสรรค์

1. ความยาวไม่เกิน 550 คำ
2. ใช้ฟอนต์ Arial ขนาด 14 pt ระยะห่างระหว่างบรรทัด แบบ single line spacing
3. เว้นระยะขอบกระดาษ 1 นิ้ว
4. บันทึกไฟล์แบบ PDF

โดยครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. บทนำ
3. หลักการและแนวคิด
4. กระบวนการ / วิธีการ
5. วัสดุ / เทคนิค
6. ผลลัพธ์ / ข้อสรุป
7. การอ้างอิง

ข้อกำหนดการส่งผลงาน

ประเภท นิสิต นักศึกษา
ประเภทผลงาน:

จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม สื่อผสม ภาพถ่าย เซรามิก ออกแบบตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบกราฟิก/เรขศิลป์ ออกแบบสื่อสาร ภาพยนตร์/วิดิทัศน์ แอนนิเมชั่น โมชั่นกราฟฟิก/เรขศิลป์เคลื่อนไหว ศิลปะดิจิทัล มัลติมีเดีย หรืออื่นๆ

การอัพโหลดผลงานจริง

1. เตรียมผลงานตามรูปแ บบที่กำหนด
2. เลือกประเภทผลงานจาก2ตัวเลือก ดังนี้

 2.1) ผลงาน 2 มิติ
  ไฟล์ .JPEG ขนาด841.89x1190.55 pixels (ขนาด A3) ที่ความละเอียด 150 DPI รูปแบบ RGB และขนาดไฟล์ไม่เกิน 5 MB

 2.2) ผลงานภาพเคลื่อนไหว
  ไฟล์ MP4 ความยาวไม่เกิน1 นาที (teaser/trailer cut) ขนาดไฟล์ไม่เกิน 100 MB

รูปแบบการส่งบทคัดย่อผลงานสร้างสรรค์

1. ความยาวไม่เกิน 250 คำ
2. ใช้ฟอนต์ Arial ขนาด 14 pt ระยะห่างระหว่างบรรทัด แบบ single line spacing
3. เว้นระยะขอบกระดาษ 1 นิ้ว
4. บันทึกไฟล์แบบ PDF

โดยครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. บทนำ
3. วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าประสงค์
4. กระบวนการ/ วิธีการ
5. วัสดุและเทคนิค
6. การอ้างอิง

ดาวน์โหลดข้อมูลโครงการ  Thai Version English Version

กรอบระยะเวลาการรับสมัคร และกำหนดการสำคัญ

ประกาศรับสมัคร เผยแพร่ข้อมูลโครงการ (ผ่านช่องทางเพจ facebook หลักของโครงการ www.facebook.com/ArtExchange2020)

ระยะเวลาการเปิดรับผลงาน (ผ่านช่องทางเว็บไซต์หลักของโครงการ)

ประกาศผลการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัล และผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้จัดแสดง

จัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์

Art Exchange 2020: “Imagine” Artistic Dialects:
Thinking into Doing 5 Sub themes

1.) กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Action)

พิจารณาประเด็นสำคัญที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ สืบเนื่องจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดความรับผิดชอบ การสร้างสรรค์ผลงานภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง คือการสร้างสรรค์ผลงงานที่ผสมผสานแนวคิดเชิงนวัตกรรมหรือวัสดุใหม่ที่สามารถนำเสนอวิธีแก้ปัญหาทางนิเวศวิทยา หรือการให้ผลลัพธ์ระยะยาวได้

2.) การบูรณาการสาขาวิชา (Disciplines Integration)

สาขาวิชาทางด้านการสร้างสรรค์มีความเลื่อมซ้อนกันภายในกับสาขาวิชาด้านอื่นๆ ทำให้เรามีความเข้าใจโลกที่แจ่มชัดมากขึ้นในองค์รวม ผลงานที่ครอบคลุมแนวคิดที่ซ้อนทับหรือแม้แต่ขัดแย้งกันที่มาจากความหลายหลายทางสาขาวิชาสามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้

3.) การค้นพบทางนวัตกรรม (Innovative Discovery)

แนวทางใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์ และการคิดค้นแก้ปัญหา ที่สามารถช่วยขับเคลื่อนสาขาวิชาทางด้านศิลปะไปข้างหน้า ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะประเภทใดก็ตามที่ใช้แนวทางที่สดใหม่ นอกกรอบเดิม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวก้าวหน้าก็สามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้

4.) การสำรวจข้ามวัฒนธรรม (Trans-Cultural Exploration)

ในโลกของเราที่มีความหลากหลายอย่างมาก ของประเพณีค่านิยม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต จึงนำมาซึ่งแรงบันดาลใจอย่างไม่รู้จบให้กับนักคิดเชิงสร้างสรรค์ และนักปฏิบัติการ ผลงานทางด้านศิลปะที่ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีการเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน หรือมีการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม สังคมที่มีอิทธิพลต่อกันและกัน

5.) ความร่วมมือข้ามพรมแดน (Collaboration Beyond Borders)

การสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการสำรวจพรมแดนใหม่ และเสริมสร้างการเคารพนับถือการทำงานเป็นทีม หรือการช่วยเหลือกัน เพื่อสร้างกลุ่มหรือชุมชนที่ทีบทบาทสำคัญต่อสังคม ศิลปะการมีส่วนร่วม (Participatory arts) ศิลปะที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน (Socially engaged Arts) หรือ ศิลปะที่เกี่ยวพันกับบริบททางสังคมหรือชุมชน สามารถจัดอยู่ในผลงานสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ได้