ชื่อโครงการ

Art Exchange 2020: “Imagine” Artistic Dialects: Thinking into Doing International Online Exhibition and Competition

ประเภทโครงการ

นิทรรศการและการแข่งขันทางศิลปะออนไลน์ระดับนานาชาติ

รายละเอียดโครงการ

Art Exchange: “Imagine” Artistic Dialects: Thinking into Doing เป็นนิทรรศการและการประกวดผลงานศิลปะระดับนานาชาติผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งเพื่อมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ พร้อมด้วยความร่วมมือของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม คณะศิลปะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC) นิทรรศการในครั้งนี้ทำหน้าที่เป็นเวทีจัดแสดงผลงานศิลปะที่ผ่านการประเมินผลงานโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer-reviewed) ของทั้งสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ศิลปิน นักออกแบบ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์ทางด้านศิลปะ เวทีนี้ไม่ได้เพียงพื้นที่การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะที่ได้รับการคัดเลือกในประเภทต่างๆเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สัมผัสถึงกระบวนทัศน์ทางวิชาการ อุตสาหกรรมทางศิลปะ รวมไปถึงส่งเสริมการเข้าชมผลงานทางศิลปะ นิทรรศการในปีนี้ประกอบไปด้วยผลงานที่แสดงถึงกระบวนการคิดที่นำไปสู่การลงมือทำซึ่งสะท้อน 5 หัวข้อย่อยดังนี้ 1.) กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Action) 2.) การบูรณาการสาขาวิชา (Disciplines Integration) 3.) การค้นพบทางนวัตกรรม (Innovative Discovery) 4.) การสำรวจข้ามวัฒนธรรม (Trans-Cultural Exploration) และ 5.) ความร่วมมือข้ามพรมแดน (Collaboration Beyond Borders)

รางวัลผลงานยอดเยี่ยมจะถูกคัดเลือกจากผลงานระดับ นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมการประกวด และรางวัลอันทรงเกียรติจะถูกคัดเลือกมาจากผลงานระดับสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ และศิลปิน ผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงจะได้รับเกียรติบัตรพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

Art Exchange 2020: “Imagine” Artistic Dialects:
Thinking into Doing 5 Sub themes

1.) กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Action):

พิจารณาประเด็นสำคัญที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ สืบเนื่องจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดความรับผิดชอบ การสร้างสรรค์ผลงานภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง คือการสร้างสรรค์ผลงงานที่ผสมผสานแนวคิดเชิงนวัตกรรมหรือวัสดุใหม่ที่สามารถนำเสนอวิธีแก้ปัญหาทางนิเวศวิทยา หรือการให้ผลลัพธ์ระยะยาวได้

2.) การบูรณาการสาขาวิชา (Disciplines Integration):

สาขาวิชาทางด้านการสร้างสรรค์มีความเลื่อมซ้อนกันภายในกับสาขาวิชาด้านอื่นๆ ทำให้เรามีความเข้าใจโลกที่แจ่มชัดมากขึ้นในองค์รวม ผลงานที่ครอบคลุมแนวคิดที่ซ้อนทับหรือแม้แต่ขัดแย้งกันที่มาจากความหลายหลายทางสาขาวิชาสามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้

3.) การค้นพบทางนวัตกรรม (Innovative Discovery):

แนวทางใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์ และการคิดค้นแก้ปัญหา ที่สามารถช่วยขับเคลื่อนสาขาวิชาทางด้านศิลปะไปข้างหน้า ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะประเภทใดก็ตามที่ใช้แนวทางที่สดใหม่ นอกกรอบเดิม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวก้าวหน้าก็สามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้

4.) การสำรวจข้ามวัฒนธรรม (Trans-Cultural Exploration):

ในโลกของเราที่มีความหลากหลายอย่างมาก ของประเพณีค่านิยม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต จึงนำมาซึ่งแรงบันดาลใจอย่างไม่รู้จบให้กับนักคิดเชิงสร้างสรรค์ และนักปฏิบัติการ ผลงานทางด้านศิลปะที่ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีการเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน หรือมีการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม สังคมที่มีอิทธิพลต่อกันและกัน

5.) ความร่วมมือข้ามพรมแดน (Collaboration Beyond Borders):

การสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการสำรวจพรมแดนใหม่ และเสริมสร้างการเคารพนับถือการทำงานเป็นทีม หรือการช่วยเหลือกัน เพื่อสร้างกลุ่มหรือชุมชนที่ทีบทบาทสำคัญต่อสังคม ศิลปะการมีส่วนร่วม (Participatory arts) ศิลปะที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน (Socially engaged Arts) หรือ ศิลปะที่เกี่ยวพันกับบริบททางสังคมหรือชุมชน สามารถจัดอยู่ในผลงานสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ได้

ดาวน์โหลดข้อมูลโครงการ : Thai Version English Version

รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
เลขาธิการมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ (หัวหน้าโครงการ)
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย
คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร.เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล
หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ ดร.ธนาทร เจียรกุล
คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นางสาววิมลลักษณ์ ชูชาติ
ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Dale Alan Konstanz
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรกริศน์ บัวแก้ว
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธาดา วาดเขียน
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยอดขวัญ สวัสดี
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญชู บุญลิขิตศิริ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
อาจารย์ตฤศ หริตวร
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ดัยนยา ภูติพันธุ์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์พลอย นิกะดานนท์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ปราง ศิลปกิจ
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่