









ชื่อโครงการ
Art Exchange 2020: “Imagine” Artistic Dialects: Thinking into Doing International Online Exhibition and Competition
ประเภทโครงการ
นิทรรศการและการแข่งขันทางศิลปะออนไลน์ระดับนานาชาติ
รายละเอียดโครงการ
Art Exchange: “Imagine” Artistic Dialects: Thinking into Doing เป็นนิทรรศการและการประกวดผลงานศิลปะระดับนานาชาติผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งเพื่อมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ พร้อมด้วยความร่วมมือของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม คณะศิลปะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC) นิทรรศการในครั้งนี้ทำหน้าที่เป็นเวทีจัดแสดงผลงานศิลปะที่ผ่านการประเมินผลงานโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer-reviewed) ของทั้งสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ศิลปิน นักออกแบบ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์ทางด้านศิลปะ เวทีนี้ไม่ได้เพียงพื้นที่การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะที่ได้รับการคัดเลือกในประเภทต่างๆเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้ได้สัมผัสถึงกระบวนทัศน์ทางวิชาการ อุตสาหกรรมทางศิลปะ รวมไปถึงส่งเสริมการเข้าชมผลงานทางศิลปะ นิทรรศการในปีนี้ประกอบไปด้วยผลงานที่แสดงถึงกระบวนการคิดที่นำไปสู่การลงมือทำซึ่งสะท้อน 5 หัวข้อย่อยดังนี้ 1.) กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Action) 2.) การบูรณาการสาขาวิชา (Disciplines Integration) 3.) การค้นพบทางนวัตกรรม (Innovative Discovery) 4.) การสำรวจข้ามวัฒนธรรม (Trans-Cultural Exploration) และ 5.) ความร่วมมือข้ามพรมแดน (Collaboration Beyond Borders)
รางวัลผลงานยอดเยี่ยมจะถูกคัดเลือกจากผลงานระดับ นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมการประกวด และรางวัลอันทรงเกียรติจะถูกคัดเลือกมาจากผลงานระดับสถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ และศิลปิน ผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงจะได้รับเกียรติบัตรพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
Art Exchange 2020: “Imagine” Artistic Dialects:
Thinking into Doing 5 Sub themes
1.) กิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Action):
พิจารณาประเด็นสำคัญที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ สืบเนื่องจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขาดความรับผิดชอบ การสร้างสรรค์ผลงานภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง คือการสร้างสรรค์ผลงงานที่ผสมผสานแนวคิดเชิงนวัตกรรมหรือวัสดุใหม่ที่สามารถนำเสนอวิธีแก้ปัญหาทางนิเวศวิทยา หรือการให้ผลลัพธ์ระยะยาวได้
2.) การบูรณาการสาขาวิชา (Disciplines Integration):
สาขาวิชาทางด้านการสร้างสรรค์มีความเลื่อมซ้อนกันภายในกับสาขาวิชาด้านอื่นๆ ทำให้เรามีความเข้าใจโลกที่แจ่มชัดมากขึ้นในองค์รวม ผลงานที่ครอบคลุมแนวคิดที่ซ้อนทับหรือแม้แต่ขัดแย้งกันที่มาจากความหลายหลายทางสาขาวิชาสามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้
3.) การค้นพบทางนวัตกรรม (Innovative Discovery):
แนวทางใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์ และการคิดค้นแก้ปัญหา ที่สามารถช่วยขับเคลื่อนสาขาวิชาทางด้านศิลปะไปข้างหน้า ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะประเภทใดก็ตามที่ใช้แนวทางที่สดใหม่ นอกกรอบเดิม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวก้าวหน้าก็สามารถจัดรวมอยู่ในหัวข้อนี้ได้
4.) การสำรวจข้ามวัฒนธรรม (Trans-Cultural Exploration):
ในโลกของเราที่มีความหลากหลายอย่างมาก ของประเพณีค่านิยม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต จึงนำมาซึ่งแรงบันดาลใจอย่างไม่รู้จบให้กับนักคิดเชิงสร้างสรรค์ และนักปฏิบัติการ ผลงานทางด้านศิลปะที่ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ควรมีการเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน หรือมีการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม สังคมที่มีอิทธิพลต่อกันและกัน
5.) ความร่วมมือข้ามพรมแดน (Collaboration Beyond Borders):
การสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการสำรวจพรมแดนใหม่ และเสริมสร้างการเคารพนับถือการทำงานเป็นทีม หรือการช่วยเหลือกัน เพื่อสร้างกลุ่มหรือชุมชนที่ทีบทบาทสำคัญต่อสังคม ศิลปะการมีส่วนร่วม (Participatory arts) ศิลปะที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน (Socially engaged Arts) หรือ ศิลปะที่เกี่ยวพันกับบริบททางสังคมหรือชุมชน สามารถจัดอยู่ในผลงานสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อย่อยนี้ได้
รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย